ข้อมูลหลักสูตร
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์เภสัชกรรมและสุขภาพ (หลักสูตรใหม่ พ.ศ.2563)
ใช้ระบบการจัดการศึกษาแบบทวิภาค โดย 1 ปีการศึกษา แบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ โดย 1 ภาคการศึกษาปกติ มีระยะเวลาการศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์
แผนการศึกษา
แบบ 1 แบบ 1.1 และแบบ 1.2
แบบ 2 แบบ 2.1 และแบบ 2.2
วัน-เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน
วัน – เวลาราชการปกติ และ/หรือ นอกวัน – เวลาราชการ
เรียนวันจันทร์ ถึงวันศุกร์ เวลา 08.00 น. ถึง 20.00 น. และ/หรือ
เรียนวันเสาร์ – วันอาทิตย์ เวลา 08.00 น. ถึง 20.00 น.
ภาคการศึกษาที่ 1 เดือนสิงหาคม- ธันวาคม
ภาคการศึกษาที่ 2 เดือนมกราคม-พฤษภาคม
ค่าหน่วยกิตและค่าธรรมเนียม
ค่าบำรุงมหาวิทยาลัยเหมาจ่าย
ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
นักศึกษาไทย ตลอดหลักสูตร 172,800 บาท
- ภาคการศึกษาละ 28,800 บาท
นักศึกษาต่างชาติ ตลอดหลักสูตร 253,800 บาท
- ภาคการศึกษาละ 42,300 บาท
ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
นักศึกษาไทย ตลอดหลักสูตร 276,000 บาท
- ภาคการศึกษาละ 27,600 บาท
นักศึกษาต่างชาติ ตลอดหลักสูตร 411,000 บาท
- ภาคการศึกษาละ 41,100 บาท
ทั้งนี้ ไม่รวมค่าจดทะเบียนล่าช้า ค่ารักษาสภาพนักศึกษา ค่าสมัครสอบภาษาต่างประเทศ และค่าบำรุงมหาวิทยาลัยสำหรับนักศึกษาต่างชาติ
แขนงวิชาในหลักสูตร
- แขนงวิชาเทคโนโลยีเภสัชกรรมและเครื่องสำอาง (Pharmaceutical and Cosmetic Technology)
- แขนงวิชาเภสัชเคมีและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ (Pharmaceutical Chemistry and Natural Products)
- แขนงวิชาวิจัยการใช้ยาและผลลัพธ์สุขภาพ (Drug Utilization and Health Outcomes Research)
- แขนงวิชาการจัดการด้านเภสัชกรรมและบริการสุขภาพ (Management in Pharmacy and Health Service)
จำนวนนักศึกษาที่รับ 5 คน
คุณสมบัติของผู้สมัครเข้าศึกษา
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษาต้องเป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2561 ข้อ 22-23 ดังนี้
ข้อ 22 นักศึกษาต้องมีคุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังนี้
- สำเร็จการศึกษาขั้นต่ำตามที่กำหนดไว้ในข้อกำหนดหลักสูตร
- ไม่เป็นผู้ป่วยหรืออยู่ในสภาวะที่จะเป็นอุปสรรคร้ายแรงต่อการศึกษา
- ไม่เป็นผู้ประพฤติผิดศีลธรรมอันดีหรือมีพฤติกรรมเสื่อมเสียอย่างร้ายแรง
- ต้องไม่เคยถูกคัดชื่อออกจากมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาอื่นเพราะมีความผิดทางวินัย ภายในระยะเวลา 10 ปี ก่อนการสมัครเข้าเป็นนักศึกษา
นอกจากคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามตามวรรคหนึ่ง ผู้ซึ่งจะเข้าศึกษาในหลักสูตรการศึกษาใด ต้องมีคุณสมบัติเฉพาะตามข้อกำหนดหลักสูตรที่เข้าศึกษาและตามประกาศมหาวิทยาลัยว่าด้วยการรับเข้าศึกษาด้วย
ข้อ 23 การกำหนดคุณสมบัติตาม ข้อ 22 (1) ในข้อกำหนดหลักสูตรให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและมีคุณสมบัติ ดังนี้
- สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ได้แก่ วิทยาศาสตรบัณฑิตทุกสาขา เภสัชศาสตรบัณฑิต แพทยศาสตรบัณฑิต ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต พยาบาลศาสตรบัณฑิต หรือสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จากสถาบันการศึกษาที่สภามหาวิทยาลัยรับรองวิทยฐานะ หรือ สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า ได้แก่ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิตทุกสาขา เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต หรือสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จากสถาบันการศึกษาที่สภามหาวิทยาลัยรับรองวิทยฐานะ
- มีระดับคะแนนเฉลี่ยสะสม และประสบการณ์หรือผลงานตามที่กำหนด สำหรับผู้เข้าศึกษาในแต่ละแผน ดังนี้
แผนการศึกษาแบบ 1 เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการวิจัยโดยมีการทำวิทยานิพนธ์ที่ก่อให้เกิดความรู้ใหม่
แผนการศึกษาแบบ 1.1 ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท (ทำวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต) ต้องมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.25 และมีประสบการณ์ด้านการวิจัย หรืองานที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อวิทยานิพนธ์ (มีผู้รับรอง) หรือกรณีที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสมต่ำกว่า 3.25 ต้องมีบทความวิจัยตีพิมพ์ในฐานะผู้นิพนธ์ชื่อแรก หรือผู้นิพนธ์หลัก หรือผู้นิพนธ์ร่วม ที่อยู่ในฐานข้อมูลระดับนานาชาติที่ สป.อว. ยอมรับ ไม่น้อยกว่า 1 เรื่อง และมีประสบการณ์ด้านการวิจัย หรืองานที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อวิทยานิพนธ์ (มีผู้รับรอง) โดยผู้เข้าศึกษาแผนนี้จะต้องมีเค้าโครงวิทยานิพนธ์ที่คาดว่าจะทำ ตามรูปแบบที่หลักสูตรกำหนดมานำเสนอด้วย
แผนการศึกษาแบบ 1.2 ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี (ทำวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 72 หน่วยกิต) ต้องมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.50 และมีประสบการณ์ด้านการวิจัย หรืองานที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อวิทยานิพนธ์ (มีผู้รับรอง) โดยผู้เข้าศึกษาแผนนี้จะต้องมีเค้าโครงวิทยานิพนธ์ที่คาดว่าจะทำ ตามรูปแบบที่หลักสูตรกำหนดมานำเสนอด้วย
แผนการศึกษาแบบ 2 เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการวิจัยโดยมีการทำวิทยานิพนธ์ที่มีคุณภาพสูงและก่อให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพ และศึกษางานรายวิชาเพิ่มเติม
แผนการศึกษาแบบ 2.1 ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท (ทำวิทยานิพนธ์ 36 หน่วยกิต และศึกษารายวิชา 12 หน่วยกิต รวม 48 หน่วยกิต) ต้องมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.25 หรือกรณีที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสมต่ำกว่า 3.25 ต้องมีบทความวิจัยตีพิมพ์ในฐานะผู้นิพนธ์ชื่อแรก หรือผู้นิพนธ์หลัก หรือผู้นิพนธ์ร่วม ที่อยู่ในฐานข้อมูลระดับนานาชาติที่ สป.อว. ยอมรับ ไม่น้อยกว่า 1 เรื่อง
แผนการศึกษาแบบ 2.2 ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี (ทำวิทยานิพนธ์ 48 หน่วยกิต และศึกษารายวิชา 24 หน่วยกิต รวม 72 หน่วยกิต) ต้องมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.50
การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา
ผู้เข้าศึกษาต้องผ่านการสอบข้อเขียนและการสอบสัมภาษณ์
ผู้เข้าศึกษาต้องส่งผลทดสอบภาษาอังกฤษ TU-GET (การทดสอบภาษา) หรือ TOEFL หรือ IELTS (ผลสอบต้องไม่เกิน 2 ปี นับถึงวันสมัคร)
ผู้เข้าศึกษาจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขอื่นๆ เป็นไปตามประกาศรับสมัครบุคคลเข้าศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และของคณะเภสัชศาสตร์
โครงสร้างหลักสูตร
แผนการศึกษาแบบ 1 (ทำเฉพาะวิทยานิพนธ์)
แบบ 1.1 ผู้เข้าศึกษาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ต้องทำวิทยานิพนธ์ 48 หน่วยกิต
แบบ 1.2 ผู้เข้าศึกษาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ต้องทำวิทยานิพนธ์ 72 หน่วยกิต
ทั้งนี้ นักศึกษาสามารถศึกษารายวิชาเลือกเพิ่มเติมได้ (ไม่นับหน่วยกิต) โดยขึ้นอยู่กับดุลพินิจของอาจารย์ที่ปรึกษาและอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
แผนการศึกษาแบบ 2 (ศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์)
แบบ 2.1 ผู้เข้าศึกษาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ต้องทำวิทยานิพนธ์ 36 หน่วยกิตและศึกษา รายวิชาอีก 12 หน่วยกิต
1) หมวดวิชาบังคับร่วม | 3 | หน่วยกิต | |||
2) หมวดวิชาบังคับเฉพาะแขนงวิชา | 3 | หน่วยกิต | |||
3) หมวดวิชาเลือก | 6 | หน่วยกิต | |||
4) วิทยานิพนธ์ | 36 | หน่วยกิต | |||
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร | 48 | หน่วยกิต |
แบบ 2.2 ผู้เข้าศึกษาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ต้องทำวิทยานิพนธ์ 48 หน่วยกิต และศึกษา รายวิชา 24 หน่วยกิต
1) หมวดวิชาบังคับร่วม | 6 | หน่วยกิต | |||
2) หมวดวิชาบังคับเฉพาะแขนงวิชา | 6 | หน่วยกิต | |||
3) หมวดวิชาเลือก | 12 | หน่วยกิต | |||
4) วิทยานิพนธ์ | 48 | หน่วยกิต | |||
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร | 72 | หน่วยกิต |
ใบสมัครคัดเลือกเข้าศึกษา