Loading...

รับสมัครปีการศึกษา 2567

ข้อมูลหลักสูตร

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์เภสัชกรรมและสุขภาพ (หลักสูตรใหม่ พ.ศ.2563)

              ใช้ระบบการจัดการศึกษาแบบทวิภาค โดย 1 ปีการศึกษา แบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ โดย 1 ภาคการศึกษาปกติ มีระยะเวลาการศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์

แผนการศึกษา

              แบบ 1 แบบ 1.1 และแบบ 1.2
              แบบ 2 แบบ 2.1 และแบบ 2.2

วัน-เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน

              วัน – เวลาราชการปกติ และ/หรือ นอกวัน – เวลาราชการ
              เรียนวันจันทร์ ถึงวันศุกร์   เวลา  08.00 น.  ถึง  20.00 น.  และ/หรือ
              เรียนวันเสาร์ – วันอาทิตย์ เวลา  08.00 น.  ถึง  20.00 น.
              ภาคการศึกษาที่ 1 เดือนสิงหาคม- ธันวาคม
              ภาคการศึกษาที่ 2 เดือนมกราคม-พฤษภาคม

ค่าหน่วยกิตและค่าธรรมเนียม

              ค่าบำรุงมหาวิทยาลัยเหมาจ่าย
                   ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
                      นักศึกษาไทย ตลอดหลักสูตร 172,800 บาท
                         - ภาคการศึกษาละ 28,800 บาท
                      นักศึกษาต่างชาติ ตลอดหลักสูตร 253,800 บาท
                        - ภาคการศึกษาละ 42,300 บาท

                  ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
                      นักศึกษาไทย ตลอดหลักสูตร 276,000 บาท
                        - ภาคการศึกษาละ 27,600 บาท
                      นักศึกษาต่างชาติ ตลอดหลักสูตร 411,000 บาท
                        - ภาคการศึกษาละ 41,100 บาท

              ทั้งนี้ ไม่รวมค่าจดทะเบียนล่าช้า ค่ารักษาสภาพนักศึกษา ค่าสมัครสอบภาษาต่างประเทศ และค่าบำรุงมหาวิทยาลัยสำหรับนักศึกษาต่างชาติ

แขนงวิชาในหลักสูตร

  1. แขนงวิชาเทคโนโลยีเภสัชกรรมและเครื่องสำอาง (Pharmaceutical and Cosmetic Technology)
  2. แขนงวิชาเภสัชเคมีและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ (Pharmaceutical Chemistry and Natural Products)
  3. แขนงวิชาวิจัยการใช้ยาและผลลัพธ์สุขภาพ (Drug Utilization and Health Outcomes Research)
  4. แขนงวิชาการจัดการด้านเภสัชกรรมและบริการสุขภาพ (Management in Pharmacy and Health Service)

จำนวนนักศึกษาที่รับ 5 คน



คุณสมบัติของผู้สมัครเข้าศึกษา

              คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษาต้องเป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2561 ข้อ 22-23 ดังนี้

ข้อ 22 นักศึกษาต้องมีคุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังนี้

  1. สำเร็จการศึกษาขั้นต่ำตามที่กำหนดไว้ในข้อกำหนดหลักสูตร
  2. ไม่เป็นผู้ป่วยหรืออยู่ในสภาวะที่จะเป็นอุปสรรคร้ายแรงต่อการศึกษา
  3. ไม่เป็นผู้ประพฤติผิดศีลธรรมอันดีหรือมีพฤติกรรมเสื่อมเสียอย่างร้ายแรง
  4. ต้องไม่เคยถูกคัดชื่อออกจากมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาอื่นเพราะมีความผิดทางวินัย ภายในระยะเวลา 10 ปี ก่อนการสมัครเข้าเป็นนักศึกษา

              นอกจากคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามตามวรรคหนึ่ง ผู้ซึ่งจะเข้าศึกษาในหลักสูตรการศึกษาใด ต้องมีคุณสมบัติเฉพาะตามข้อกำหนดหลักสูตรที่เข้าศึกษาและตามประกาศมหาวิทยาลัยว่าด้วยการรับเข้าศึกษาด้วย

ข้อ 23 การกำหนดคุณสมบัติตาม ข้อ 22 (1) ในข้อกำหนดหลักสูตรให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและมีคุณสมบัติ  ดังนี้

  1. สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ได้แก่ วิทยาศาสตรบัณฑิตทุกสาขา เภสัชศาสตรบัณฑิต แพทยศาสตรบัณฑิต ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต พยาบาลศาสตรบัณฑิต หรือสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จากสถาบันการศึกษาที่สภามหาวิทยาลัยรับรองวิทยฐานะ หรือ สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า ได้แก่ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิตทุกสาขา เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต หรือสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จากสถาบันการศึกษาที่สภามหาวิทยาลัยรับรองวิทยฐานะ
  2. มีระดับคะแนนเฉลี่ยสะสม และประสบการณ์หรือผลงานตามที่กำหนด สำหรับผู้เข้าศึกษาในแต่ละแผน ดังนี้
    แผนการศึกษาแบบ 1 เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการวิจัยโดยมีการทำวิทยานิพนธ์ที่ก่อให้เกิดความรู้ใหม่
    แผนการศึกษาแบบ 1.1 ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท (ทำวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต) ต้องมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.25 และมีประสบการณ์ด้านการวิจัย หรืองานที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อวิทยานิพนธ์ (มีผู้รับรอง) หรือกรณีที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสมต่ำกว่า 3.25 ต้องมีบทความวิจัยตีพิมพ์ในฐานะผู้นิพนธ์ชื่อแรก หรือผู้นิพนธ์หลัก หรือผู้นิพนธ์ร่วม ที่อยู่ในฐานข้อมูลระดับนานาชาติที่ สป.อว. ยอมรับ ไม่น้อยกว่า 1 เรื่อง และมีประสบการณ์ด้านการวิจัย หรืองานที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อวิทยานิพนธ์ (มีผู้รับรอง) โดยผู้เข้าศึกษาแผนนี้จะต้องมีเค้าโครงวิทยานิพนธ์ที่คาดว่าจะทำ ตามรูปแบบที่หลักสูตรกำหนดมานำเสนอด้วย
    แผนการศึกษาแบบ 1.2 ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี (ทำวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 72 หน่วยกิต) ต้องมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.50 และมีประสบการณ์ด้านการวิจัย หรืองานที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อวิทยานิพนธ์ (มีผู้รับรอง) โดยผู้เข้าศึกษาแผนนี้จะต้องมีเค้าโครงวิทยานิพนธ์ที่คาดว่าจะทำ ตามรูปแบบที่หลักสูตรกำหนดมานำเสนอด้วย
    แผนการศึกษาแบบ 2 เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการวิจัยโดยมีการทำวิทยานิพนธ์ที่มีคุณภาพสูงและก่อให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพ และศึกษางานรายวิชาเพิ่มเติม 
    แผนการศึกษาแบบ 2.1 ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท (ทำวิทยานิพนธ์ 36 หน่วยกิต และศึกษารายวิชา 12 หน่วยกิต รวม 48 หน่วยกิต) ต้องมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.25 หรือกรณีที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสมต่ำกว่า 3.25 ต้องมีบทความวิจัยตีพิมพ์ในฐานะผู้นิพนธ์ชื่อแรก หรือผู้นิพนธ์หลัก หรือผู้นิพนธ์ร่วม ที่อยู่ในฐานข้อมูลระดับนานาชาติที่ สป.อว. ยอมรับ ไม่น้อยกว่า 1 เรื่อง
    แผนการศึกษาแบบ 2.2 ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี (ทำวิทยานิพนธ์ 48 หน่วยกิต และศึกษารายวิชา 24 หน่วยกิต รวม 72 หน่วยกิต) ต้องมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.50

การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา

              ผู้เข้าศึกษาต้องผ่านการสอบข้อเขียนและการสอบสัมภาษณ์
              ผู้เข้าศึกษาต้องส่งผลทดสอบภาษาอังกฤษ TU-GET (การทดสอบภาษา) หรือ TOEFL หรือ IELTS (ผลสอบต้องไม่เกิน 2 ปี นับถึงวันสมัคร)
              ผู้เข้าศึกษาจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขอื่นๆ เป็นไปตามประกาศรับสมัครบุคคลเข้าศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และของคณะเภสัชศาสตร์


โครงสร้างหลักสูตร

แผนการศึกษาแบบ 1 (ทำเฉพาะวิทยานิพนธ์)

แบบ 1.1 ผู้เข้าศึกษาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ต้องทำวิทยานิพนธ์ 48 หน่วยกิต

แบบ 1.2 ผู้เข้าศึกษาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ต้องทำวิทยานิพนธ์ 72 หน่วยกิต

             ทั้งนี้ นักศึกษาสามารถศึกษารายวิชาเลือกเพิ่มเติมได้ (ไม่นับหน่วยกิต) โดยขึ้นอยู่กับดุลพินิจของอาจารย์ที่ปรึกษาและอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

 

แผนการศึกษาแบบ 2 (ศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์)

แบบ 2.1 ผู้เข้าศึกษาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ต้องทำวิทยานิพนธ์ 36 หน่วยกิตและศึกษา รายวิชาอีก 12 หน่วยกิต

1) หมวดวิชาบังคับร่วม
3
หน่วยกิต
2) หมวดวิชาบังคับเฉพาะแขนงวิชา
3
หน่วยกิต
3) หมวดวิชาเลือก
6
หน่วยกิต
4) วิทยานิพนธ์
36
หน่วยกิต
 
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร
48
หน่วยกิต

แบบ 2.2 ผู้เข้าศึกษาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ต้องทำวิทยานิพนธ์ 48 หน่วยกิต และศึกษา รายวิชา 24 หน่วยกิต

1) หมวดวิชาบังคับร่วม
6
หน่วยกิต
2) หมวดวิชาบังคับเฉพาะแขนงวิชา
6
หน่วยกิต
3) หมวดวิชาเลือก
12
หน่วยกิต
4) วิทยานิพนธ์
48
หน่วยกิต
 
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร
72
หน่วยกิต

 

ใบสมัครคัดเลือกเข้าศึกษา

Download ใบสมัครคัดเลือกเข้าศึกษา

Download แบบรับรองประสบการณ์ด้านการวิจัย/การทำงานที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อวิทยานิพนธ์(กรณี คะแนนเฉลี่ยสะสมต่ำกว่า 3.25 ต้องแนบแบบรับรองดัวกล่าว)

แนวทางการติดตามความก้าวหน้าวิทยานิพนธ์

ข้อมูลการติดต่อ

งานบริการการศึกษา คณะเภสัชศาสตร์ ชั้น 5
อาคารเรียนและปฏิบัติการรวม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
99 หมู่ 18 ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง
จ.ปทุมธานี 12120
โทรศัพท์: 0-2986-9214 ต่อ 4268, 4262
E-mail: graduate.pharm.tu@gmail.com